Tuesday, October 20, 2015

สิทธิตามกฎหมายแรงงาน

ที่มา http://www.mol.go.th/th/employee/rihgt_labor%20low

(1) เวลาทำงาน
- ไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์งานอันตรายตามที่กำหนดในกฏกระทรวง
- ไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

(2) เวลาพัก
 - ในวันที่มีการทำงานให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพักติดต่อกันไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง
ภายใน 5 ชั่วโมงแรกของการทำงาน
- นาย จ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าให้มีเวลาพักน้อยกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมง ก็ได้แต่ต้อง
ไม่น้อยกว่าครั้งละ 20 นาทีและเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่น้อยกว่าวันละ 1 ชั่วโมง
- กรณี งานในหน้าที่มีลักษณะต้องทำติดต่อกันไป หรือเป็นงานฉุกเฉินโดยจะหยุดเสียมิได้
นายจ้างจะไม่จัดเวลาพักให้ลูกจ้างก็ได้ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

(3) วันหยุดประจำสัปดาห์
 - ต้องไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 1 วัน โดยมีระยะห่างกันไม่เกิน 6 วัน
- ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์
(ยกเว้นลูกจ้างรายวัน รายชั่วโมงหรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย)
- นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้า กำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้
- งาน โรงแรม งานขนส่ง งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร (งานประมงงานดับเพลิง) งาน
อื่นตามที่กฎกระทรวงฯ กำหนด นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้า สะสมและเลื่อนวันหยุด
ประจำสัปดาห์ไปเมื่อไดก็ได้แต่ต้องอยู่ในระยะเวลา ไม่เกิน 4 สัปดาห์ติดต่อกัน
- กรณีวันหยุดประจำสัปดาห์ ไม่แน่นอน ให้นายจ้างประกาศวันหยุดให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้า
ไม่น้อยกว่า 3 วันและแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานตรวจแรงงานทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่
ประกาศกำหนด

(4) วันหยุดตามประเพณี
 - ต้องไม่น้อยกว่าปีละ 13 วัน โดยรวมวันแรงงานแห่งชาติด้วย ถ้าวันหยุด ตามประเพณี
ตรงกับวันหยุดประจำสัปดาห์ ให้หยุดชดเชยในวันทำงานถัดไป
- ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณี

(5) วันหยุดพักผ่อนประจำปี
 - ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่าปีละ 6 วันทำงาน
- ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี
- ถ้าลูกจ้างที่ทำงานยังไม่ครบ 1 ปี จะให้หยุดตามส่วนก็ได้
- ให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าหรือกำหนดตามที่ตกลงกัน
- นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันล่วงหน้าสะสมและเลื่อนวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปรวมหยุดในปีอื่นก็ได้

(6) การลาคลอด
 - ลูกจ้าง ซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาคลอดก่อนและหลังคลอดครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน
โดยให้นับรวมวันหยุดที่มีระหว่างวันลาด้วย และให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้าง ซึ่งลาคลอด
เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน

(7) การลาเพื่อทำหมัน
 - ลูกจ้าง มีสิทธิ์ลาเพื่อทำหมันได้และมีสิทธิ์ลาเนื่องจากการทำหมันตามระยะ เวลาที่แพทย์
แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งกำหนด และออกใบรับรองให้โดยลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างในวันลานั้นด้วย

(8) การลากิจ
- ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

(9) การลาเพื่อรับราชการทหาร
 - ลูกจ้าง มีสิทธิ์ลาเพื่อรับราชการทหารในการเรียกพลเพื่อตรวจสอบ เพื่อฝึก วิชาทหาร หรือเพื่อทดสอบความพรั่งพร้อม โดยลาได้เท่ากับจำนวนวันที่ทางการทหารเรียก และได้รับค่าจ้างตลอด
เวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 60 วันต่อปี

(10) การลาเพื่อฝึกอบรม
 - ลูกจ้าง มีสิทธิ์ลาเพื่อการฝึกอบรมหรือพัฒนาความรู้ความสามารถตามหลักเกณฑ์และวิธี
การที่กำหนดในกฎกระทรวงโดยไม่ได้รับค่าจ้างในวันลานั้น

(11) ค่าจ้าง
 - เป็นเงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตาม สัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ หรือระยะเวลาอื่น หรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุด และวันลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงานแต่มีสิทธิ์ได้รับตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
- ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
- ถ้า ไม่มีการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในท้องที่ใดให้ถือว่า อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ พื้นฐานเป็น
อัตราค่าจ้างขั้นต่ำของท้องที่นั้น (อัตรค่าจ้างขั้นต่ำพื้นฐาน หมายถึง อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการ
ค่าจ้างกำหนดเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ)

(12) การทำงานล่วงเวลา และการทำงานในวันหยุด
- ใน กรณีที่งานมีลักษณะต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะ เสียหายแก่งานหรือเป็นงานฉุกเฉินนายจ้างอาจให้ลูกจ้าง ทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดเท่าที่จำเป็นก็ได้
- กิจการโรงแรม สถานมหรสพ งานขนส่ง ร้านขายอาหาร ร้านขายเครื่องดื่ม สโมสร สมาคมสถานพยาบาล และกิจการอื่นตามที่กระทรวงจะได้กำหนดนายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานใน วันหยุดเท่าที่จำเป็นก็ได้ โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆ ไป
- ใน กรณีที่มีการทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า สองชั่วโมง นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพัก ไม่น้อยกว่ายี่สิบนาที ก่อนที่ลูกจ้างเริ่ม ทำงานล่วงเวลา (ยกเว้นงานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือเป็นงานฉุกเฉิน)

(13) ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด
    - ถ้า ทำงานเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา ไม่น้อยกว่า
หนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวน ชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่ง
เท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วย ในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับ
ค่าจ้างตามผลงาน
   - ถ้า ทำงานในวันหยุดเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานนายจ้างต้องจ่าย ค่าล่วงเวลาใน
วันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่
ทำหรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับ ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
   - ถ้า ทำงานในวันหยุดในเวลาทำงานปกติ นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุด ให้แก่ลูกจ้าง
ที่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของค่าจ้าง ในวันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานใน
วันหยุด หรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็น
หน่วย สำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดต้องจ่ายไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของค่าจ้างใน
วันทำงานตามชั่วโมงที่ทำงานในวันหยุดหรือตามจำนวนผลงาน ที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้าง
ตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

(14) ค่าชดเชย
    - ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ดังนี้
1. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชย
เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
2. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับ
ค่าจ้างอัตราสุดท้าย90 วัน
3. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 3 ปีแต่ไม่ครบ 6 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยเท่ากับ
ค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
4. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับ
อัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
 5. ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้าง
อัตราสุดท้าย300 วัน

- ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิตการจำหน่ายหรือการบริการอันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่อง จักรหรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนลูกจ้างลง นายจ้างต้องปฏิบัติดังนี้

1. แจ้งวันที่จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้าง และรายชื่อลูกจ้างที่จะถูกเลิกจ้างให้ลูกจ้างและพนักงานตรวจแรงงาน ทราบล่วงหน้าไม่ น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันที่จะเลิกจ้างถ้าไม่
แจ้ง แก่ลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลาหกสิบวัน
2. ถ้าไม่แจ่งก่อนล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลา 60 วัน นายจ้างต้องจ่าย
ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่ลูกจ้างเท่ากับค่า จ้างอัตราสุดท้ายหกสิบ
วัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานหกสิบวันสุดท้าย สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่า จ้าง
ตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

ค่าชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านี้ให้ถือว่านายจ้างได้จ่ายค่าสินจ้างแทน การบอกกล่าว
ล่วงหน้าตามกฎหมายด้วย

Tuesday, January 26, 2010

Dendritic Cell Algorithms (DCA)

Dendritic cells

Dendritic cells (DCs) are immune cells that form part of the mammalian immune system. Their main function is to process antigen material and present it on the surface to other cells of the immune system, thus functioning as antigen-presenting cells.

Dendritic cells are present in small quantities in tissues that are in contact with the external environment, mainly the skin (where there is a specialized dendritic cell type called Langerhans cells) and the inner lining of the nose, lungs, stomach and intestines. They can also be found in an immature state in the blood. Once activated, they migrate to the lymphoid tissues where they interact with T cells and B cells to initiate and shape the adaptive immune response. At certain development stages they grow branched projections, the dendrites, that give the cell its name. However, these do not have any special relation with neurons, which also possess similar appendages. Immature dendritic cells are also called veiled cells, in which case they possess large cytoplasmic 'veils' rather than dendrites.

http://en.wikipedia.org/wiki/Dendritic_cell



In nature DCs exist in three states: immature, semi-mature and mature.

The initial state of a DC is immature, where it performs its function of processing the three categories of input signal (PAMP, danger and safe) and in response produces three output signals. Two of the output signals are used to represent the state of the cell, as the immature DC can change state irreversibly to either semi-mature or mature. During its lifespan collecting signals, if the DC has collected majority safe signals it will change state to a semi-mature state and all antigen collected by the cell is presented in a ‘safe’ context.

Conversely, cells exposed to PAMP and danger signals transforms into a mature state,with all collected antigen presented in a dangerous context.

DCA for Bot Detection
Yousof Al-Hammadi, Uwe Aickelin and Julie Greensmith

Artificial Immune Systems (AIS)

The field of Artificial Immune Systems (AIS) is concerned with abstracting the structure and function of the immune system to computational systems, and investigating the application of these systems towards solving computational problems from mathematics, engineering, and information technology. AIS is a sub-field of Computational intelligence, Biologically-inspired computing, and Natural computation, with interests in Machine Learning and belonging to the broader field of Artificial Intelligence.

http://en.wikipedia.org/wiki/Artificial_immune_system

Artificial Immune System (ระบบภูมิคุ้มกันประดิษฐ์)

บทนำ

ในร่างกายของคนเรามีระบบในการต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาทำอันตรายกับร่างกายและมันยังมีความสามารถที่จะจดจำและ จำแนกความแตกต่างของสิ่งผิดปกติ ลักษณะต่างๆได้อย่างถูกต้องซึ่งนับว่าเป็นระบบที่อัจฉริยะ ทางด้านระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการนำกลวิธีการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันนี้มาเป็นต้นแบบในการสร้าง แนวทางใหม่ๆในการแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ซึ่ง ในเบื้องต้นเราจะมาทำความรู้จักกับ ระบบภูมิคุ้มกันในธรรมชาติกันก่อน

Natural Immune System (ระบบภูมิคุ้มกันในธรรมชาติ)

ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์มีอยู่ทั่วร่างกาย เปรียบเหมือนกองทัพทหารที่ป้องกันประเทศ ประกอบด้วย ต่อมน้ำเหลือง (เป็นที่อยู่ของเซลล์เม็ดเลือดขาว) คือ หน่วยทหาร และท่อน้ำเหลือง ที่ภายในจะเป็นน้ำเหลืองและเซลล์เม็ดเลือดขาว เชื่อมต่อระหว่างต่อมน้ำเหลืองด้วยกันเอง
และเชื่อมต่อเข้ากับเส้นเลือด คือ เส้นทางเดินทัพของทหาร ม้าม ไขกระดูก ต่อมทอนซิล Payer's patch ที่อยู่ตามเยื่อบุทางเดินอาหาร เป็นที่ตั้งฐานทัพของทหารสิ่งแปลกปลอมต่างๆรวมทั้งจุลชีพก่อโรคจะผ่านเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง จากตำแหน่งที่เข้าสู่ร่างกาย เข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองเฉพาะที่ และผ่านทางเส้นเลือดและท่อน้ำเหลืองกระจายไปทั่วร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันนั้นอาจจำแนกได้หลายลักษณะดังนี้

แบ่งตามการเกิด(Origins)

1.1) Innate or Natural Immunity
ปรากฏมีมาโดยกำเนิด - ส่วนมากเป็น non-antigen-specific factors เช่น ผิวหนัง

1.2) Acquired Immunity
พัฒนาขึ้นภายหลังในสายวิวัฒนาการ เฉพาะใน vertebrate - มีความจำเพาะ - Specificity - เกิดขึ้นหลังได้รับ (expose / immunization) สิ่ง / สารแปลกปลอมต่อ ร่างกายมาก่อนหน้านี้แล้ว ชนิดของ Acquired Immunity
• Active Immunity: immunity ที่ ตอบสนองต่อ antigens - Natural active immunity: เกิดระหว่างการเกิดโรคและอย่างถาวร เช่นหัด คางทูม - Artificial active immunity: vaccines ของโรคที่ตายแล้วกระตุ้นให้ สร้าง immune ที่ถาวร
• Passive Immunity - Natural passive immunity: immune จากแม่ให้ทารกในครรภ์ - Artificial passive immunity: immune serum จากคนหรือสัตว์อื่น เช่น ภูมิโรคคอตีบ บาดทะยัก

แบ่งตามความจำเพาะต่อสิ่งแปลกปลอม (Nonspecific defense mechanism หรือ Innate Immunity)

การป้องกันไม่จำเพาะต่อสิ่งแปลกปลอมการป้องกันด่านแรกที่ไม่สามารถแยกชนิดของ foreign materials ได้ แต่ให้ผลป้องกันได้ทันที แบ่งเป็น 2 อย่าง คือ

• External Physical Barrier: การป้องกันทางกายภาพของผิวบุลำตัว หรือบุผนังอวัยวะ การขับเมือก น้ำตา

• Internal Physiological Reactions: การป้องกันโดยการทำลายหรือ กินของ phagocytic cells หรือ การบวม, การสร้างสารให้เม็ดตก ตะกอน, สารยับยั้งการเจริญของ virus - Specific defense mechanism การป้องกันจำเพาะต่อสิ่งแปลกปลอม - สามารถแยกระหว่าง foreign substances (antigens) โดยการผลิต specific proteins (antibodies) มาทำลาย foreign substances เหล่านี้ เริ่ม ภายหลังเกิด nonspecific response ระยะหลังๆ ซึ่งเป็นระยะชั่วคราว มาก่อนแล้ว เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน เซลล์ที่ทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกัน สร้างมาจาก stem cells ที่อยู่ในไขกระดูก แบ่งเป็น

1) เซลล์ที่ทำหน้าที่กินสิ่งแปลกปลอม เช่น macrophage, monocyte,neutrophil

2) เซลล์ที่มี granule จำนวนมาก ได้แก่ eosinophil, basophil และ

3) เซลล์เม็ดเลือดขาวขนาดเล็กที่เรียกว่า เซลล์ลิมโฟไซท์ (lymphocyte) ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ B cells และ T cells

B cells
ทำหน้าที่ผลิตภูมิคุ้มกันชนิดสารน้ำที่เรียกว่า แอนติบอดี โดยที่ B cell จะถูกกระตุ้นด้วยแอนติเจน แล้วจึงเปลี่ยนเป็น plasma cells เพื่อสร้างแอนติบอดีจำเพาะต่อแอนติเจนนั้น

T cells
ทำหน้าที่ด้านการตอบสนองทางด้านเซลล์ เพื่อกำจัดสิ่ง แปลกปลอมหรือจุลชีพแบ่งเป็น

1) เซลล์ CD4 หรือ helper T (Th) cells เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มี แอนติเจนชนิด CD4 บนผนังเซลล์ ทำหน้าที่ส่งเสริมเรียกเซลล์เม็ดเลือด ขาวอื่น เช่น B cell ในการสร้างแอนติบอดีจำเพาะ และ T cells เพื่อการ เปลี่ยนเป็น cytotoxic T cells (CTL) ดังนั้น CD4+ T cells จึงมีความ สำคัญมาก เพราะมีส่วนร่วมในการทำให้มีภูมิคุ้มกันทั้งแบบเซลล์และสารน้ำ

2) เซลล์ CD8 หรือ killer cells หรือ suppressor cells เป็นเซลล์เม็ด เลือดขาวที่มีแอนติเจนชนิด CD8 บนผนังเซลล์ ทำหน้าที่ทำลายเซลล์ที่ผิดปกติหรือที่ติดเชื้อจุลชีพ เซลล์เม็ดเลือดขาวพวกนี้จะรู้ได้ว่าเซลล์ชนิดใดเป็นสิ่งแปลกปลอม จากที่เซลล์ชนิดนั้นไม่มีโมเลกุลที่ผิวเซลล์ HLA class I ชนิดเดียวกับเซลล์ เม็ดเลือดขาวนั้น ส่วนสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เรียกว่า แอนติเจน (antigen) และตำแหน่งบนแอนติเจนที่จำเพาะในการกระตุ้น เรียกว่า epitope แบ่งเป็น B-cell epitope กระตุ้น B-cell เพื่อสร้าง แอนติบอดีจำเพาะ และ T-cell epitope กระตุ้น T-cell

They both can recognize and target antigen-bearing cells, but they perform in different ways.

http://hopelife.igetweb.com/index.php?mo=3&art=146846